
ช่วยต่อลมหายใจ ให้ “ผู้ป่วยเด็กเรื้อรัง” ได้มีโอกาสกลับบ้าน
ในสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน คุณแม่ยุคใหม่ต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ต่างๆ เหตุจากรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณแม่ที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งคุณภาพอากาศจากฝุ่นละอองที่เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็กซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากปอดยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือขยายตัวไม่ดี
ปัจจุบัน หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีผู้ป่วยเด็กที่ต้องได้รับการบริบาลทางระบบหายใจที่บ้านและยังมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องประมาณ 50-60 ราย และมีผู้ป่วยใหม่ที่ต้องการการดูแลในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฝึกสอนทักษะในการดูแลอย่างเป็นองค์รวมจากฝ่ายต่างๆ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และฝ่ายสังคมสงเคราะห์ เพื่อเตรียมความรู้ ฝึกทักษะในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และต้องการงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางฐานะสามารถรับผู้ป่วยเด็กที่อาการคงที่แล้วกลับไปดูแลต่อเนื่องต่อที่บ้านได้ เพื่อลดปัญหาเตียงไม่เพียงพอกับผู้ป่วย ซึ่งยังเป็นปัญหาในด้านการบริการของโรงพยาบาลในปัจจุบัน
ทำไม❓ จึงต้องมีเครื่องช่วยหายใจประจำตัว ให้น้องได้กลับบ้าน
▫️เพราะ เครื่องช่วยหายใจไม่ได้เป็นเพียงแค่ปอด แต่ยังเปรียบเหมือนสมองที่ช่วยส่งสัญญาณกระตุ้นจังหวะการหายใจ
▫️เพราะ การนอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลนานๆ เป็นผลเสียต่อเด็ก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและปอดบวมซ้ำซ้อน จนสุดท้ายภาวะติดเชื้ออาจเป็นมัจจุราชที่คร่าชีวิตหนูน้อยไปจากอ้อมอกพ่อแม่
▫️เพราะ ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสรับความรัก ความผูกพันจากญาติมิตรในครอบครัว
“ให้โอกาสชีวิตน้อย ๆ” …ด้วยการร่วมบริจาคเพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
หรือ บริจาคผ่าน Rabbit Line Pay
เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ 7-11 ทุกสาขา